facebook

กด Like เป็นกำลังใจให้กับ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษออนไลน์

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผิวหนังอักเสบในสัตว์เลี้ยง เรื่อง (ที่ไม่) เล็ก






ผิวหนังอักเสบ  (Bacterial Dermatitis) คำนี้เป็นคำกว้างๆที่ใช้บ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อที่ผิวหนัง ถ้าในสุนัขหรือแมวก็คงเข้าใจง่าย แต่ในสัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่า งู กิ้งก่า อาจจะฟังดูแปลก แต่ก็สามารถเป็นได้เช่นเดียวกันครับ  ซึ่งสาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ สัตว์เลี้ยงที่ยังอายุน้อย หรือ ไม่ก็อายุมาก ครับ สัตว์เลี้ยงวัยรุ่น มักจะไม่ค่อยเป็นเท่าไหร่หรอกครับ ยกเว้นจะเลี้ยงแบบผิดๆ ครับ

โดยปกติแล้วโรคนี้มักไม่ค่อยเป็นเองเท่าไหร่ และ มักจะไม่เกิดขึ้นเอง แต่เมื่อเรานำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยง และ อาจจะจัดการพื้นที่เลี้ยงไม่ดี เช่น ชื้นเกินไป (ในสัตว์ที่มาจากแถบภูมิอากาศร้อน และ แห้งแล้ง) การเลี้ยงสัตว์หนาแน่นเกินไป การจัดการสุขอนามัยกรงเลี้ยงไม่ดี ขี้เยี่ยว เปรอะพื่นเต็มไปหมด การใช้วัสดุปูรองไม่เหมาะสมและไม่ค่อยเปลี่ยน เช่นใช้กระดาษแต่ไม่ยอมเปลี่ยนเลย ปล่อยให้เปียกฉี่ แล้ว แห้งเอง แล้ว เปียกฉี่ ซ้ำไปมา การใช้หญ้าปูรอง ซึ่งก็ไม่เคย จะเอาหญ้า มาตากแดด เพื่อกำจัดเชื้อโรค เลย ด้านบนดูดี แต่ด้านล่าง อาจจะมีรา ขึ้นก็ได้ (ประสบการณ์ ตรงตอนเริ่มหัดเลี้ยงใหม่ๆ แล้ว อยู่ในช่วงสอบ 555 ) การที่พื้นที่เลี้ยง อับชื้น ไม่มีแสงแดดส่องถึง กรงเลี้ยง ไม่เหมาะสม การเกิด บาดแผล แล้วโน้มนำทำให้เกิด การติดเชื้อแทรกซ้อน การที่สัตว์เลี้ยงได้สารอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ  หรือการเป็นโรคอื่นๆ รวมถึงการติดเชื้อราที่ผิวหนังด้วย และสุดท้าย  เต่า ,งู , กิ้งก่า ที่จับมาจากธรรมชาติ แล้ว ไม่สามารถปรับตัวให้เข้าที่เลี้ยงได้ ก็สามารถทำให้เกิดภาวะเครียด ภูมิตก ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกเยอะครับ นี่แค่ยกตัวอย่าง !!!

ผิวหนังเป็นตุ่มหนอง 

อาการที่ว่าผิวหนังอักเสบเป็นยังไง ยกตัวอย่างเช่นในเต่านะครับ  เราก็จะเห็นผิวหนังบริเวณ ซอกขาหน้า ขาหลัง หรือ ซอกพับทั้งหลาย รวมถึง ข้างคอ ใต้คอ เกิดตุ่มๆ เหลืองๆ ขึ้นมา นั่นแหละครับ บางทีเกิดขึ้นมา แล้วแผลก็แห้ง แล้ว บางทีก็จะหลุดออกเป็นหลุม แล้วก็เกิดใหม่ ปริมาณมากขึ้น ในช่วงแรก สัตว์อาจจะปกติ ไม่แสดงอาการอะไรเป็นเดือน แต่ถ้าเป็นมาก จนเกิดการติดเชื้อไปทั่วตัว หรือ ติดเชื้อ เข้ากระแสเลือด เมื่อไหร่ สัตว์ก็จะเริ่มซึม ไม่กิน อาหาร ทีนี้ละครับ งานเข้า ทั้งหมอ ทั้งเต่า 
เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อโรคมันก็สามารถไปได้ทุกที่ ที่เลือดไปเลี้ยงถึง ไม่ใช่แค่ว่า เห็นรอยโรคที่ผิวหนัง ก็จะติดเชื้ออยู่แค่นั้นนะครับ เชื้อมันสามารถไปได้ ทั้ง ตับ ไต หัวใจ ไส้ พุง เลยละครับ บางตัวแย่หน่อยไปที่กระดอง ก็จะพบปัญหา รอยจ้ำแดงๆ ที่กระดอง โดยเฉพาะ ด้านใต้กระดองที่บางๆ ตำแหน่งนี้จะเห็นชัดครับ หรือ บางที ไปที่สมอง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาทางระบบประสาท เกิดเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ และ อื่นๆ ตามมาครับ .... ปัญหาคือ เมื่อเกิดแล้วการพยากรณ์ โรค ไม่ดีเลยครับ 
พบจ้ำเลือดออกใต้กระดอง
ในงู หรือ กิ้งก่า ก็จะพบว่า ผิวหนัง หรือ เกล็ด มีลักษณะที่ผิดปกติไป มีจ้ำแดงๆ มีรอยถลอก มีแผลหลุม มีตุ่มน้ำขึ้น  นั่นก็คือ กลุ่ม อาการของโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเหมือนกันครับ แต่ถ้าเอาชื่อเฉพาะ เช่นในงู บางทีเราก็เรียกว่า Blister disease 

ซึ่งเจ้าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ว่านี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบคทีเรียในกลุ่ม แกรมลบ  เช่น Pseudomonas spp., Aeromonas spp., และอื่นๆอีก เช่น Proteus , Serratia  ถ้าเราเคยเรียนเกี่ยวกับแบคทีเรียมาบ้าง แค่ได้ยินชื่อ Psedomonas  ก็หนาวๆกันแล้วครับ เพราะเป็นเชื้อที่ดื้อยาง่าย และ ตายยาก ... เหมือนกับ ..... ไม่มีผิด ใส่คำตอบในช่องว่างเอาเองนะครับ 555 


ผิวหนังพุพองเป็นตุ่มน้ำ
คราวนี้การรักษา ก็คือ หาสาเหตุ และก็ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม รวมถึงการให้ยาปฎิชีวนะ ทั้งในรูปแบบ ฉีด กิน ทา แช่ แล้วแต่ว่าเป็นสัตว์อะไร และ อาการรุนแรงแค่ไหนครับ  รวมถึงหมอก็จะบอกให้ เจ้าของ ไป แช่น้ำ กกไฟ ตากแดด ( เคยเขียนไปแล้วครับ ลองหาอ่านดู) บางคนก็งง เป็นผิวหนังทำไมให้แช่น้ำ ไม่ยิ่งชื้นเหรอก็ไม่ต้องแช่นานก็ได้ครับ หรือ บางทีถ้าเป็นมาก หมอก็จะให้น้ำโดยวิธีอื่น เช่น ป้อนเอา หรือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือ ช่องว่างลำตัว และถ้าแช่น้ำ ก็ให้เช็ดตัวให้แห้ง ก่อนที่จะเอาลงกล่องเลี้ยงครับ 

การรักษาเราจะแบ่งเป้าหมายออกเป็น
1 ทำให้สัตว์เลี้ยงสามารถรอดชีวิตจากอาการที่วิกฤตก่อน ถ้าสัตว์เลี้ยงมีอาการอ่อนแรง 
2.รักษาตามอาการ เช่น อาจจะมีการขูดหนอง เอาไปเพาะเชื้อ เพื่อหายาที่เหมาะสม ฉีดยา ทายา ตามที่เล่าไปแล้ว
3.การปรับการเลี้ยงดู เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นใหม่

ทั้งสามขั้นตอน ฟังดูเหมือนง่าย แต่ก็ไม่ง่าย เพราะต้องอาศัยการร่วมมือกัน ทั้งเจ้าของ และ สัตวแพทย์ครับ


สิ่งที่ผมอยากเตือนใจก็คือ เนื่องจากแบคทีเรียที่กล่าวมานั้น เป็นแบคทีเรีย ที่ ดื้อยาง่ายมาก การให้ยา ถ้าเจ้าของให้ยาเอง แต่ ไม่ถูกโดส ระยะเวลารักษาไม่ต่อเนื่องและไม่ยาวนานเพียงพอ ก็อาจจะทำให้เชื้อดื้อ ยาได้ง่าย การรักษาต่อไปก็คือ การ เปลี่ยนยา ที่แรงขึ้น แรงขึ้น ... จนในที่สุด อาจจะไม่มียาให้ใช้ และถ้า เมื่อไหร่ เชื้อดื้อยา นี้เกิดติดขึ้นมาในคน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ลูก หลาน ที่ไปจับตัวสัตว์เล่น หรือ เชื้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม .... ไม่อยากจะคิดครับ ว่าเหตุการณืจะเป็นอย่างไร 

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย รู้ไว้ใช่ว่าครับ
ด้วยความปราถนาดี น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)









1 ความคิดเห็น:

  1. สล็อต เว็บ ตรง จากค่ายเกมสล็อตออนไลน์ชื่อดังอันดับ 1 ที่นักพนันทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นค่ายเกมสล็อตออนไลน์ที่ดีที่สุดตลอดกาลกับค่าย PG SLOT ที่มาแรงที่สุดในปี 2022

    ตอบลบ