facebook

กด Like เป็นกำลังใจให้กับ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษออนไลน์

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผิวหนังอักเสบในสัตว์เลี้ยง เรื่อง (ที่ไม่) เล็ก






ผิวหนังอักเสบ  (Bacterial Dermatitis) คำนี้เป็นคำกว้างๆที่ใช้บ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อที่ผิวหนัง ถ้าในสุนัขหรือแมวก็คงเข้าใจง่าย แต่ในสัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่า งู กิ้งก่า อาจจะฟังดูแปลก แต่ก็สามารถเป็นได้เช่นเดียวกันครับ  ซึ่งสาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ สัตว์เลี้ยงที่ยังอายุน้อย หรือ ไม่ก็อายุมาก ครับ สัตว์เลี้ยงวัยรุ่น มักจะไม่ค่อยเป็นเท่าไหร่หรอกครับ ยกเว้นจะเลี้ยงแบบผิดๆ ครับ

โดยปกติแล้วโรคนี้มักไม่ค่อยเป็นเองเท่าไหร่ และ มักจะไม่เกิดขึ้นเอง แต่เมื่อเรานำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยง และ อาจจะจัดการพื้นที่เลี้ยงไม่ดี เช่น ชื้นเกินไป (ในสัตว์ที่มาจากแถบภูมิอากาศร้อน และ แห้งแล้ง) การเลี้ยงสัตว์หนาแน่นเกินไป การจัดการสุขอนามัยกรงเลี้ยงไม่ดี ขี้เยี่ยว เปรอะพื่นเต็มไปหมด การใช้วัสดุปูรองไม่เหมาะสมและไม่ค่อยเปลี่ยน เช่นใช้กระดาษแต่ไม่ยอมเปลี่ยนเลย ปล่อยให้เปียกฉี่ แล้ว แห้งเอง แล้ว เปียกฉี่ ซ้ำไปมา การใช้หญ้าปูรอง ซึ่งก็ไม่เคย จะเอาหญ้า มาตากแดด เพื่อกำจัดเชื้อโรค เลย ด้านบนดูดี แต่ด้านล่าง อาจจะมีรา ขึ้นก็ได้ (ประสบการณ์ ตรงตอนเริ่มหัดเลี้ยงใหม่ๆ แล้ว อยู่ในช่วงสอบ 555 ) การที่พื้นที่เลี้ยง อับชื้น ไม่มีแสงแดดส่องถึง กรงเลี้ยง ไม่เหมาะสม การเกิด บาดแผล แล้วโน้มนำทำให้เกิด การติดเชื้อแทรกซ้อน การที่สัตว์เลี้ยงได้สารอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ  หรือการเป็นโรคอื่นๆ รวมถึงการติดเชื้อราที่ผิวหนังด้วย และสุดท้าย  เต่า ,งู , กิ้งก่า ที่จับมาจากธรรมชาติ แล้ว ไม่สามารถปรับตัวให้เข้าที่เลี้ยงได้ ก็สามารถทำให้เกิดภาวะเครียด ภูมิตก ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกเยอะครับ นี่แค่ยกตัวอย่าง !!!

ผิวหนังเป็นตุ่มหนอง 

อาการที่ว่าผิวหนังอักเสบเป็นยังไง ยกตัวอย่างเช่นในเต่านะครับ  เราก็จะเห็นผิวหนังบริเวณ ซอกขาหน้า ขาหลัง หรือ ซอกพับทั้งหลาย รวมถึง ข้างคอ ใต้คอ เกิดตุ่มๆ เหลืองๆ ขึ้นมา นั่นแหละครับ บางทีเกิดขึ้นมา แล้วแผลก็แห้ง แล้ว บางทีก็จะหลุดออกเป็นหลุม แล้วก็เกิดใหม่ ปริมาณมากขึ้น ในช่วงแรก สัตว์อาจจะปกติ ไม่แสดงอาการอะไรเป็นเดือน แต่ถ้าเป็นมาก จนเกิดการติดเชื้อไปทั่วตัว หรือ ติดเชื้อ เข้ากระแสเลือด เมื่อไหร่ สัตว์ก็จะเริ่มซึม ไม่กิน อาหาร ทีนี้ละครับ งานเข้า ทั้งหมอ ทั้งเต่า 
เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อโรคมันก็สามารถไปได้ทุกที่ ที่เลือดไปเลี้ยงถึง ไม่ใช่แค่ว่า เห็นรอยโรคที่ผิวหนัง ก็จะติดเชื้ออยู่แค่นั้นนะครับ เชื้อมันสามารถไปได้ ทั้ง ตับ ไต หัวใจ ไส้ พุง เลยละครับ บางตัวแย่หน่อยไปที่กระดอง ก็จะพบปัญหา รอยจ้ำแดงๆ ที่กระดอง โดยเฉพาะ ด้านใต้กระดองที่บางๆ ตำแหน่งนี้จะเห็นชัดครับ หรือ บางที ไปที่สมอง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาทางระบบประสาท เกิดเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ และ อื่นๆ ตามมาครับ .... ปัญหาคือ เมื่อเกิดแล้วการพยากรณ์ โรค ไม่ดีเลยครับ 
พบจ้ำเลือดออกใต้กระดอง
ในงู หรือ กิ้งก่า ก็จะพบว่า ผิวหนัง หรือ เกล็ด มีลักษณะที่ผิดปกติไป มีจ้ำแดงๆ มีรอยถลอก มีแผลหลุม มีตุ่มน้ำขึ้น  นั่นก็คือ กลุ่ม อาการของโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเหมือนกันครับ แต่ถ้าเอาชื่อเฉพาะ เช่นในงู บางทีเราก็เรียกว่า Blister disease 

ซึ่งเจ้าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ว่านี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบคทีเรียในกลุ่ม แกรมลบ  เช่น Pseudomonas spp., Aeromonas spp., และอื่นๆอีก เช่น Proteus , Serratia  ถ้าเราเคยเรียนเกี่ยวกับแบคทีเรียมาบ้าง แค่ได้ยินชื่อ Psedomonas  ก็หนาวๆกันแล้วครับ เพราะเป็นเชื้อที่ดื้อยาง่าย และ ตายยาก ... เหมือนกับ ..... ไม่มีผิด ใส่คำตอบในช่องว่างเอาเองนะครับ 555 


ผิวหนังพุพองเป็นตุ่มน้ำ
คราวนี้การรักษา ก็คือ หาสาเหตุ และก็ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม รวมถึงการให้ยาปฎิชีวนะ ทั้งในรูปแบบ ฉีด กิน ทา แช่ แล้วแต่ว่าเป็นสัตว์อะไร และ อาการรุนแรงแค่ไหนครับ  รวมถึงหมอก็จะบอกให้ เจ้าของ ไป แช่น้ำ กกไฟ ตากแดด ( เคยเขียนไปแล้วครับ ลองหาอ่านดู) บางคนก็งง เป็นผิวหนังทำไมให้แช่น้ำ ไม่ยิ่งชื้นเหรอก็ไม่ต้องแช่นานก็ได้ครับ หรือ บางทีถ้าเป็นมาก หมอก็จะให้น้ำโดยวิธีอื่น เช่น ป้อนเอา หรือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือ ช่องว่างลำตัว และถ้าแช่น้ำ ก็ให้เช็ดตัวให้แห้ง ก่อนที่จะเอาลงกล่องเลี้ยงครับ 

การรักษาเราจะแบ่งเป้าหมายออกเป็น
1 ทำให้สัตว์เลี้ยงสามารถรอดชีวิตจากอาการที่วิกฤตก่อน ถ้าสัตว์เลี้ยงมีอาการอ่อนแรง 
2.รักษาตามอาการ เช่น อาจจะมีการขูดหนอง เอาไปเพาะเชื้อ เพื่อหายาที่เหมาะสม ฉีดยา ทายา ตามที่เล่าไปแล้ว
3.การปรับการเลี้ยงดู เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นใหม่

ทั้งสามขั้นตอน ฟังดูเหมือนง่าย แต่ก็ไม่ง่าย เพราะต้องอาศัยการร่วมมือกัน ทั้งเจ้าของ และ สัตวแพทย์ครับ


สิ่งที่ผมอยากเตือนใจก็คือ เนื่องจากแบคทีเรียที่กล่าวมานั้น เป็นแบคทีเรีย ที่ ดื้อยาง่ายมาก การให้ยา ถ้าเจ้าของให้ยาเอง แต่ ไม่ถูกโดส ระยะเวลารักษาไม่ต่อเนื่องและไม่ยาวนานเพียงพอ ก็อาจจะทำให้เชื้อดื้อ ยาได้ง่าย การรักษาต่อไปก็คือ การ เปลี่ยนยา ที่แรงขึ้น แรงขึ้น ... จนในที่สุด อาจจะไม่มียาให้ใช้ และถ้า เมื่อไหร่ เชื้อดื้อยา นี้เกิดติดขึ้นมาในคน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ลูก หลาน ที่ไปจับตัวสัตว์เล่น หรือ เชื้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม .... ไม่อยากจะคิดครับ ว่าเหตุการณืจะเป็นอย่างไร 

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย รู้ไว้ใช่ว่าครับ
ด้วยความปราถนาดี น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)









ทำไมหมอชอบให้ แช่น้ำ กับ ตากแดด กกไฟ ในเต่าป่วย ??






วลาสัตว์ป่วย ทำไมสัตวแพทย์ถึงแนะนำให้ เปิดไฟ กก / ตากแกก และ แช่น้ำ  ก่อนที่จะอ่านบทความนี้ อยากให้กลับไปอ่านบทความ ก่อนที่ผม เขียนไว้ Light and Heat (ตาม Link  https://www.facebook.com/photo.php?fbid=541742325875043&set=a.372986846083926.83753.217315514984394&type=1&theater ) ก่อนนะครับ คราวนี้ เวลา เต่าป่วย  ทำไมหมอ ชอบบอกว่าให้ไป แช่น้ำ กับ กกไฟ หรือ ตากแดด ก็ตามแต่ บทความที่แล้วผมพูดถึงอุณหภูมิไปแล้วครับ ว่ามีผลอย่างไร
ขอพูดสั้นๆ อีกครั้งว่า เมื่ออุณหภูมิ สัตว์สูงขึ้น กระบวนการ เมตตาบอลึซึ่ม ก็จะเพิ่มสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว การสูบฉีด เลือดดีขึ้น กระบวนการต่อต้านเชื้อโรคในร่างกายดีขึ้น .. และที่สำคัญ ทำให้ยาที่ให้ไป กระจายไปในร่างกายรวมถึงการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายดีขึ้น  และ ในธรรมชาติ เมื่อสัตว์เลื้อยคลานป่วย สัตว์เลื้อยคลานก็จะ พยายาม ออกมาตากแดด เพื่อเพิ่ม อุณหภูมิร่างกายตัวเอง เราเรียกกระบวนนี้ว่า  behavior fever   ซึ่งการที่สัตวแพทย์ แนะนำให้ กกไฟ ก็เพื่อ เลียนแบบ พฤติกรรม ทางธรรมชาติ นั่นเอง ... ในกรณีนี้ สัตวแพทย์ ต้องการเพียงความร้อน ไม่ใช่ แสง นะครับ แต่ถ้าสามารถ ให้แสงที่ มี full  spectrum ด้วยก็ยิ่งดี แต่ผมขอบอกว่า การเกิดโรค MBD ไม่ใช่เกิดภายใน 1-2 อาทิตย์ หรอกนะครับ  

รูปภาพแสดงการกกไฟ 
ทำไมหมอสั่งให้แช่น้ำ...จะกกไฟหรือ จะให้แช่น้ำ บางทีเจ้าของอาจจะงง .. เต่าบกทำไมต้องแช่น้ำด้วย  การที่หมอบอกให้เจ้าของเต่าแช่น้ำ เนื่องจากว่า ในกรณี ที่เต่าป่วย เต่าจะทานอาหาร และ ทานน้ำได้น้อยลง  และ การกกไฟ เป็นระยะเวลานาน จะทำให้เต่า เกิดการสูญเสียน้ำ ไปในระดับหนึ่ง การแช่น้ำ ก็เพื่อช่วยให้ เต่าได้รับน้ำเพิ่มขึ้น เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่างทางการกิน เข้าไป หรือ ดูดซึมผ่านทาง ทวารรวม (cloaca) นั่นเอง เพื่อไม่ให้เต่าเกิดภาวะขาดน้ำ และ แห้งน้ำจนเกินไป หมอจึงบอกให้แช่น้ำ และ ก็ไม่ใช่ แช่จนนานเกินไป  และ ใช้น้ำที่สูงจนเกินไป จนเต่าจมน้ำ  และ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ กระตุ้นให้มีการขับถ่าย ด้วยครับ 

          ทำไมหมอสั่งให้ตากแดด .. อาจจะเพราะว่า เต่าของเจ้าของอาจจะเริ่มภาวะ เป็นโรค MBD ซึ่งการเลี้ยงที่ผิดวิธี ทำให้เต่าขาดรังสี UV-B เช่นเลี้ยงริมหน้าต่าง แต่อยู่ในตู้กระจก หรือ ไม่เคยโดนแสงแดดเลย ก็อาจจะทำให้ เต่าป่วยเป็นโรคนี้ได้ โดยอาการ เช่น กระดองนิ่ม กระดองผิดรูป และอื่นๆ 

ข้อควรระวัง ในการตากแดด กกไฟ และ แช่น้ำคือ ในกรณีที่ สัตว์ป่วยมาก จะต้องระมัดระวัง อย่างมากนะครับ เนื่องจาก เต่าจะไม่เดินหลบร้อน อาจจะทำให้เต่า ร้อนตายได้ และ การแช่น้ำ ถ้าใช้น้ำที่สูงจนเกินไป อาจจะทำให้เต่าจมน้ำ ตายได้นะครับ ดังนั้นจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 

         หวังว่าบทความนี้พอจะไขข้อข้องใจได้้บ้าง นะครับ .... ทุกอย่างมันมีเหตุผล ครับ เพียงแต่จะเข้าใจเหตุผล ที่ซ่อนไว้ใน ข้อแนะนำหรือไม่เท่านั้น ...  สุดท้าย อย่าเชื่อ ทุกสิ่งที่ผมพูด แต่ขอให้ใช้ วิจารณญาณ ในการไตร่ตรอง ก่อนที่จะเชื่อนะครับ  เพราะความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเสมอครับ 

ด้วยความปราถนาดี   น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)







วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้พื้นฐาน สำหรับคนเลี้ยงเต่า ตอน แสง และ ความร้อน





การเลี้ยงเต่า กับ ไฟกก จำเป็นหรือไม่  จริงๆแล้ว ถ้าพูดถึงเบสิคการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ต้องบอกว่ามีสิ่งที่เป็น เบสิค ที่ต้องรู้ ก็คือ  ความร้อน แสง  ความชื้น ที่อยู่อาศัย และอาหาร  แต่วันนี้ผมจะขอพูดถึง 2 อย่างที่เกี่ยวข้องกันจนแทบจะแยกกันไม่ออก นั่นก็คือ แสง และ ความร้อน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าสัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่า เป็นสัตว์ที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม (Ectothemic) นั่นหมายความว่า ถ้าอุณหภูมิภายนอกเย็น อุณหภูมิตัวสัตว์ก็จะเย็นตามไปด้วย ครับ  ถ้าอุณหภูมิภายนอกร้อน ตัวสัตว์ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยครับ 

อุณหภูมิ มีผลอะไรกับตัวสัตว์ เมื่ออุณหภูมิ สูงขึ้น(สูงกว่าปกติ แต่อยู่ในช่วงที่สัตว์สามารถปรับตัวได้ )  การทำงานของร่างกายก็จะมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดไปส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้น กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันก็จะเพิ่มมากขึ้น  

แสง มีผลอะไรกับตัวสัตว์ แสงก็จะมาพร้อมกับ รังสีต่างๆ แต่รังสีที่มีผลกับตัวสัตว์ คือ รังสี UV-A  และ UV-B แล้วเราจะหารังสีนี้มาจากไหน และ แหล่งพลังงานจากไหน ดีที่สุด ตอบง่ายๆ คือ จากดวงอาทิตย์ นี่แหละครับดีที่สุด ซึ่งมีครบทั้ง รังสี UV-A , UV-B , และความร้อน  
UV-A  นี่จะมีผลกับการดำรงชีวิต เช่น การแสดงออกของพฤติกรรมต่างๆ  และ การสืบพันธ์  ซึ่ง รังสีนี้พบได้ทั่วไปจากชีวิต ประจำวัน เช่น แสงจากหลอดฟลูโอเรสเซ้นต์ทั่วๆไป และ หลอดไฟชนิดอื่นๆ  
UV-B สำหรับสัตว์เลื้อยคลานโดยส่วนใหญ่จำเป็นครับ โดยเฉพาะในเต่า และ กิ้งก่า เพราะว่ารังสี UV-B สามารถ เปลี่ยนวิตามิน D ที่บริเวณผิวหนังให้กลายเป็น  วิตามิน D3   ช่วยให้มีการดูดซึมแคลเซี่ยม ในลำไส้ได้ และ ป้องกันการเกิด โรค metabolic bone disease หรือ MBD ที่พูดถึงกันบ่อยๆ  และ รังสี UV-B นี้สามารถ หาได้จากแสงอาทิตย์ และ หลอด UV แบบ full spectrum เท่านั้น ซึ่งข้อจำกัด คือ รังสี UV-B สามารถผ่านกระจกได้น้อยมาก ซึ่งเกือบจะสะท้อนกลับหมด  และ หลอดที่ผลิต รังสี UV-B ได้นั้น ก้มีอายุการใช้งานที่สั้น แค่ 6-12 เดือน ขึ้นกับการเปิดใช้งาน และ คุณภาพของหลอด 

จากที่ผมเล่าไปคร่าวๆ นั้น แสงที่ดีที่สุด คือ แสงที่มาจาก ดวงอาทิตย์ แต่ ถ้า เจ้าของไม่สะดวก นำเต่าไปตากแดด หรือ ที่เลี้ยงไม่มีแดด เช่น คอนโด หรือ ห้องนั่งเล่น ทางออกที่ดี ก็คือ การหาแหล่ง ของแสงเทียม นั่นก็คือ จากหลอดไฟ  แล้ว ความร้อนที่ดีที่สุดล่ะ ?? ในความคิดของผม ไม่จำเป็นต้องจากดวงอาทิตย์ก็ได้ เพราะเราไม่สามารถ ควบคุมความร้อนได้ แต่จากหลอดไฟ เราสามารถควบคุมความร้อนได้  ... ต้องตั้งคำถามให้ตัวเองครับ ว่าคุณต้องการ แสง หรือ ความร้อน เวลาคุณ กกไฟ ??? 

ด้วยความปราถนาดี น.สพ.เชาวพันธ์  ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หยุดฆ่ากระต่ายด้วย ยาหยดหลัง

ยาหยดหลังดังภาพ ห้ามใช้ในกระต่ายนะครับ 

หยุด ฆ่า กระต่าย ด้วยความไม่รู้ .... ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี ก็ยังเกิดเหตุการณ์ เช่นนี้อยู่  การใช้ยาหยดหลัง เพื่อป้องกัน เห็บหมัด หรือ ไร ชนิดต่างๆ นั้น สามารถทำได้ แต่การรักษาด้วยตัวเองนั้น เจ้าของควรจะ้องมีความระมัดระวัง ถึงการเลือกใช้ยาด้วยนะครับ ยาที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด คือ Fipronil ซึ่งบ้านเรามีหลายยี่ห้อ จะไม่ขอพูดชื่อ ยี่ห้อนะครับ เพราะตายเหมือนกันหมด !!!  และ ยาขวดแก้ว สีชา ซึ่ง หนักกว่าอีก เพราะเป็นยาเถื่อน !!! ไม่มีแม้แต่ชื่อสารออกฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบัน มีออกมามากมายหลายแบบ ราคา 50-100 บาท ซื้อ เยอะ แถมอีกต่างหาก ขนาดในสุนัข ยาเถื่อนตัว้ ยังทำให้สุนัข ตายมาแล้วไม่รู้กี่ตัว กระต่ายน้อย ซึ่งแสนจะบอบบางจะไปเหลือเหรอครับ?    ซึ่งตัวยาออกฤทธิ์ เหล่านี้ สามารถทำอันตรายกับกระต่ายได้ คือ กระต่ายจะมีการ ดังต่อไปนี้ 

     เมื่อกระต่ายได้รับยาไปแล้ว จะมีอาการ ซึม เบื่อ อาหาร และ หลังจากนั้น อาจจะ 1-3 วัน หลังได้รับยา กระต่าย จะมีอาการ ชัก และ จะ ชัก รุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ และ สุดท้าย ก็จะตายลง อย่าง ทรมาณ!!!  

    การรักษา ที่พอจะทำได้เอง เมื่อได้ทำการหยอดยาบเวณหลังไปแล้ว ในตำแหน่งที่กระต่ายเลียไม่ถึง นั่นคือ บริเวณหลังคอ จะทำให้ยาถูกจำกัดอยู่บริเวณนั้น โดยจะค่อยๆ ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังบริเวณนั้น แต่ ถ้าหยอด ผิดตำแหน่ง และกระต่ายเลีย กินเ้าไป หรือ อักตัวช่วยเลียก็จะยิ่งอันตราย มากขึ้นไปตามปริมาณยาที่ได้รับ หลักการรักษามี 3  อย่าง 
1.ลดปริมาณการดูดซึม 
2.เพิ่มการขับยาออก 
3.ควบคุมอาการชัก และ รักษาตามอาการ 

การลดปริมาณการดูดซึม สามารถทำได้โดยการทำการล้างบริเวณที่หยอดออกให้ได้มากที่สุด โดยการใช้แชมพูของลูกสุนัข หรือ แชมพูเด็ก ก็ได้เพื่อเอายาที่ยังคงเหลือ อยู่ออกให้ได้มากที่สุด และหลังจากล้างแล้ว ต้องเป่าตัวให้แห้ง และระวังกระต่ายจะอุณหภูมิร่างกายต่ำเกินไป ครับ 

เพิ่มการขับออก วิธีคงต้องพึ่งสัตวแพทย์ครับ โดยวิธีที่ทำได้ก้คือ การให้สารน้ำ เช่นน้ำเกลือ ในช่องทางต่างๆ เช่นการให้เข้าเส้นเลือด การให้เข้าใต้ผิวหนัง หรือ แม้แต่การป้อนน้ำ ก็ช่วยได้เช่นกันครับ 

การควบคุมการชัก นั่นหมายถึงระยะที่อันตรายที่สุดเพราะยาได้เข้าสู่กระแสเลือดในขนาดที่ทำให้กระต่ายชักได้ และ อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจะะต้องให้ยา ระงับอาการชัก ให้ ออกซิเจน และ ให้สารอาหาร ผ่านทาง สายยางในกรณี ไม่กินเลย แต่ถ้ายังกินอยู่ อาจจะใช้การป้อน อาหารกระต่ายป่วย เช่น คริติคอล แคร์  ครับ 

การพยากรณ์ โรค ต้องบอกว่า เลวร้าย มากเชียวล่ะครับ ถ้าโชคดี หยอดไปไม่มาก ไม่ได้หยิด ทีเดียวหมด หลอด หรือ หมดขวด โอกาสรอดก้มีเยอะหน่อย เพราะตัวยาอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าหมด หลอด ก็ เหนื่อยหน่อยครับ แต่ถ้ายิ่งรู้อาการเร็ว พบสัตวแพทย์เร็ว ก็อาจจะเพิ่มโอกาสรอดได้ครับ 

หวังว่าบทความนี้ คงช่วยกระต่ายได้ ไม่มาก็น้อย ช่วยกันส่งต่อให้กับผู้ที่เริ่มเลี้ยงกระต่าย ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ครับ 

หมออ้อย