facebook

กด Like เป็นกำลังใจให้กับ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษออนไลน์

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทำหมันกระต่ายตัวเมีย ดีไหม (Uterine adenocarcinoma)




กระต่ายตัวเมียที่ไม่ได้ทำหมัน มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งสูงมาก ถึง 70-80 % ในกระต่ายที่อายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไป โดยมักจะเป็นมะเร็ง ในกลุ่ม adenocarcinoma ( มะเร็งร้าย )

อาการของกระต่ายที่เป็นโรคนี้้ได้แก่ 
1.มีปัสสาวะเป็นเลือด / เลือดออกจากมดลูก  เกิดจาก เส้นเลือดในมดลูก แตกออก และ ทำให้เลือดไหล ออกมา บางทีออกมาพร้อมกับปัสสาวะ หรือ ไหลออกมาเป็นเลือดสดๆ ก็ได้

2.พฤติกรรมเปลี่ยน หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว (ผลจากฮอร์โมน ที่ผิดปกติไป)

3.มีอาการท้องเทียมบ่อยๆ เต้านมขยาย และ อาจจะมี ถุงน้ำ (Cyst) บริเวณ เต้านม

4.มีอาการช่องท้องขยายใหญ่ผิดปกติ และ กระต่ายผอม เนื่องจากเมื่อมดลูกขยาย อาจจะทำให้ก้อนเนื้องอกโต เต็มช่องท้อง และ ไปเบียด อวัยวะอื่นๆ เช่นลำไส้ ตับ ไต ม้าม ครับ

5.ซึมเบื่ออาหาร นี้เป็นอาการที่ไม่จำเพาะ เพราะไม่ว่าเป็นอะไร ก็จะมีอาการนี้ ร่วมด้วยทุกครั้ง ซึ่งถ้าพบอาการซึม ไม่กินอาหาร ก็จะต้องหาสาเหตุ ก่อนครับว่าเกิดจากอะไร .. เพราะปัญหาที่ผมตอบ ไม่ได้ก็คือ ว่า ซึม ต้องให้ยาอะไร ซึมเป็นอะไร ... เพราะทุกโรคมันซึมหมด และ แต่ละโรคก็รักษาไม่เหมือนกันครับ

6.ไม่มีอาการ ... จริงๆครับ ไม่มีอาการ ในกระต่ายที่ผมได้ทำหมัน บางตัว ปกติดีทุกอย่าง แค่มาทำหมัน แต่ขณะผ่าไปก็พบว่า มดลูก เริ่มจะอาการผิดปกติ เพียงแต่ยังไม่แสดง อาการเท่านั้นครับ


การวินิจฉัย  สามารถทำได้โดยการ ซักประวัติ ดูอาการ การคลำตรวจช่องท้อง การถ่ายภาพรังสี และ การอัลตร้าซาวด์  ขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น และ ความชำนาญของสัตวแพทย์ ครับ

มะเร็งมดลูก 
การรักษาโรคนี้ และ การป้องกัน มีวิธีเดียวคือ  การผ่าตัดทำหมันครับ  ..

การพยากรณ์ หลังจากวินิจฉัย ถ้าพบว่า มะเร็งไม่ลูกลาม และ สามารถผ่าตัดเลาะก้อนเนื้อ ออกได้หมด การพยากรณ์ จะดี แต่ ถ้ามีการลาม ของก้อนเนื้อไปยังอวัยวะ ข้างเคียง หรือ ปอดแล้ว อาจจะต้อง คอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และ พยากรณ์ ไม่ดีนัก โดยส่วนใหญ่ ในกรณีเนื้องอกลุกลามไปที่ ปอด มักจะพบว่า กระต่ายมักเสียชีวิต หลัง วินิฉัยได้ 2 ปี 
เนื้อเยื่อที่กลายเปฌนมะเร็งทั้งหมด ในมดลูก 

ดังนั้นถ้าเราต้องการให้กระต่ายมีอายุยืนยาว ก็แนะนำให้ทำหมันครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำหมันก่อนอายุ 2 ปี จะลดความเสี่ยงได้เยอะ และกระต่ายก็แข็งแรง แผลหายเร็ว และ ไขมันในช่องท้องก็น้อย ทำให้ง่ายต่อการผ่าตัด ...

ด้วยความปราถนาดี  น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล




ก้อนเนื้องอก ของมดลูก 



วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คิดก่อนเลี้ยง "ความรักของคนเลี้ยง และ ความสุขของกระต่าย"




วันนี้นั่งในห้องทำงาน ฝนตกเบาๆ ฟังเพลงเพราะๆ แล้วเกิดอารมณ์อยากเขีบนบทความ ว่าด้วยเรื่องของความรัก และกระต่าย ก็เลยจับมารวมกัน ..  เป็นความรักของผู้เลี้ยง และ ความสุขของกระต่าย .. ทำยังไงให้กระต่ายมีความสุขและ อายุยืนยาว ไม่ตายตั้งแต่เลี้ยงได้ 3 วัน อ่านเล่นๆ ในวันฝนตกแล้วกันนะครับ  การที่เราจะทำให้กระต่ายมีความสุข มีไม่กี่ปัจจัยหรอกครับ ผมอยากจะสรุปว่า มีอยู่ 3 ปัจจัยหลักๆ ก็คือ 


1.ต้องดูความพร้อมของตัวเองก่อนว่าพร้อมที่จะรับใครเข้ามาในชีวิตรึเปล่า จริงๆอาจจะต้องคิดหนักกว่าการที่จะมีแฟนสักคนอีกนะครับ บางทีการคบแฟน 5-6 ปี ก็มีเลิก แต่เลี้ยงกระต่ายบางที อาจจะต้องดูแลกันไปเป็น  10 ปี นะครับ 

2.ศึกษาหาข้อมูลก่อนที่จะเลี้ยงกระต่าย การที่เราจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงสักตัว ไม่ใช่ว่าอยากจะเลี้ยงก็เดินออกไปซื้อมาเลยนะครับ ต้องศึกษาก่อนว่าสัตว์เลี้ยงที่เราจะเลี้ยงนั้น มันคือตัวอะไร กินอาหารแบบไหน อยู่ยังไง เหมือนการมีแฟน ต้องทำการศึกษาซึ่งกันและกันก่อนที่จะตัดสินใจคบกัน ไม่ใช่เดินเจอถูกใจก็ชี้จะเอายังงี้ อันนี้ไม่ถูกต้อง 

3.อยู่กับเจ้าของที่รักและเอาใจใส่กระต่าย จริงๆแล้วข้อนี้แทบจะรวมทุกข้อไว้ด้วยกัน เพราะคำว่ารักและเอาใจใส่ นั้นมันหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นตัวของเค้า กระต่ายเจ็บป่วยเล็กน้อย กินอาหารน้อยลงไปนิดหน่อย อึเล็กไปเล็กน้อย ไม่ร่าเริง ซึม ถ้าเป็นคนที่สนใจรายละเอียด แค่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ก็สามารถทราบได้ และ พาไปพบสัตวแพทย์ได้ทันเวลาก่อนที่สัตว์เลี้ยงจะเป็นหนัก  นอกจากจะรักและเอาใจใส่แล้ว ยังมีเวลาให้กันด้วย สัตว์เลี้ยง ชื่อก็บอกแล้วครับว่าสัตว์เลี้ยง ไม่ใช่เครื่องประดับ ที่จะซื้อมาแล้วเอาไว้แค่ดู การที่เรามีเวลาให้กัน จะทำให้เราเข้าใจในตัวตนที่เค้าเป็น เข้าใจซึ่งกันและกัน  เปรียบได้กับการมีแฟน หรือ ครอบครัว การที่มีเวลาให้กัน มันจะทำให้ต่างเข้าอกเข้าใจกัน มีเวลาปรับทุกด้วยกัน มีเวลาสุขด้วยกัน มีความทรงจำดีด้วยๆกัน ห่วงกัน เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน 

อยากจะขอฝากไปถึงผุ้เรื่มเลี้ยงใหม่ ที่อาจจะข้ามขั้นตอน ข้อ 1  และ ข้อ 2 ไปแล้ว แต่ ข้อที่สำคัญ เเละเริ่มทำได้ทุกวันนั้นคือ ข้อ 3  ครับ เริ่มวันนี้ เเล้วคุณจะรู้ว่า สัตว์เลี้ยงของเราน่ารักไม่แพ้ตัวใดในโลก สัตว์เลี้ยงที่น่ารัก ไม่จำเป็นต้องเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีราคาแพง ขอแค่คุณรักเค้าก็พอครับ ....




ด้วยความปราถนาดี  เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล


วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โรคฝ่าเท้าอักเสบ มันเกิดได้อย่างไรหนอ ??

โรคฝ่าเท้าอักเสบ (Pododermatitis,Sore hock)

โรคฝ่าเท้าอักเสบ ระยะสุดท้าย 

โรคฝ่าเท้าอักเสบ ระยะที่ 1

โรคฝ่าเท้าอักเสบ ระยะที่ 2
คิดว่าคนที่เลี้ยงกระต่าย น่าจะพอ คุ้นๆ กับโรคนี้อยู่บ้างนะครับ โรคนี้ถ้าจะเปรียบเทียบให้ฟังดูง่ายก็คือ โรคแผลกดทับ นั่นแหละครับ เพียงแต่ว่า มันเกิดแผลกดทับที่่ฝ่าเท้า โดยเฉพาะ ใน กระต่าย และ หนู แกสบี้ ที่จะพบได้บ่่อย ถามว่าทำไมเกิดได้บ่อย และ เกิด จากสาเหตุอะไร ? อันดับแรกคงต้อง อธิบายก่อนครับ ว่า ฝ่าเท้ากระต่าย ไม่ได้มีผิวหนังที่อ่อนนุ่ม เหมือนในสุนัข แต่เป็น ผิวหนัง ที่ห่อหุ้มกระดูกเท้า และมี ขน เป็นสิ่งปกคลุม .. แค่นั้นครับ 




สาเหตุที่โน้มนำทำให้เกิด โรคฝ่าเท้าในกระต่ายหลักแล้วก็คือ 
1.สายพันธุ์ กระต่าย เช่น กระต่ายสายพันธุ์ Rex,Mini Rex หรือ ลูกครึ่งของพันธุ์ นี้ เนื่องจากขนที่ละเอียด สั้น และ บาง โดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้า ทำให้ฝ่าเท้า เสียดสีกับพื้น มากเกินไป จนทำให้เกิด เท้าด้าน และ เป็นแผลตามาครับ 



2.การที่ให้กระต่าย อยู่แต่ในกรงเป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะกรง ที่มีขนาดเล็ก และ พื้นกรง มีเส้นลวด ขนาดเล็ก กรงที่มีขนาดเล็กจะทำให้กระต่ายไม่ค่อยได้ขยับตัว จะทำให้แรงกดที่เท้า ลงน้ำหนัก ที่จุดๆเดียวนานๆ ก็จะทำให้เกิดผิวหนังขาดเลือดมาเลี้ยงทำให้ผิวหนังอ่อนแอ และ เกิดบาดแผล ติดเชื้อได้ง่ายครับ ส่วน พื้นกรง ที่เป็นซี่ลวดที่มีขนาดเล็กเกินไป ก็จะทำให้เกิด แรงกด แรง เค้น ที่ฝ่าเท้า เยอะกว่าปกติ กระต่ายไม่ได้ฝึกความอดทนเหมือนโยคี ทำไมต้องให้กระต่าย ยืนบนลวด จริิงมั้ยครับ ^^ 

3.กรงสกปรก นี่คือสาเหตุ ที่พบได้เป็นประจำคือ กรงเลี้ยงสกปรก และเจ้าของลืมทำความสะอาดบ่อย ทำให้กระต่ายเหยียบ อึ เหยียบฉี่ ทำให้ขนเปียก และ เกิด ผิวหนังอักเสบตามมา หลังจากนั้น ขนจะค่อยๆ ร่วงหลุด ไป เหลือ แต่ผิวหนัง ที่ห่อหุ้มกระดูก ทีนี้ พอเกิดการติดเชื้อ เชื้อก็จะลามเข้ากระดูก โอกาสที่จะต้องสูญเสียขา ก็จะสูงครับ 
พื้นกรงที่สกปรก 



4.กระต่ายเจ้าอารมณ์ พอโกรธที ก็ชอบ กระทืบเท้า ตอนกระทีบเท้านี่แหละครับ ถ้าพื้นที่อยู่ ไม่แข็งมาก ก็คงไม่เป็นไร เช่นในธรรมชาติ กระทีบเท้ากับดิน ก็คงไม่เป็นไร แต่ พอกระทืบ เท้าบน พื้นคอนกรีตเรื่อยๆ เข้า ก็อาจจะทำให้เกิดแผล ขนร่วง และกลายเป็นโรคนี้ตามมาได้ครับ 

5.กระต่ายอ้วนไป , กระต่ายผอมไป .. อ่านไม่ผิดหรอกครับ อ้วนก็เกิดน้ำหนัก กดลงที่ฝ่าเท้ามากไป ทำให้เกิดแผลได้เช่นกัน ส่วนผอม ก็จะทำให้ไขมันใต้ชั้นผิวหนังน้อยเกินไป ก็ทำให้เกิด แผลง่ายครับ 

6.ร้านอาบน้ำตัดขน .... กรณีนี้ เป็นความซวยของกระต่ายจริงๆครับ ืั้เจ้าของพาไปอาบน้ำ แล้ว ช่างดันไถ ขนฝ่าเท้ากระต่ายออกไปด้วย .. กระต่ายนะครับ ไม่ใช่หมา ไม่ต้องตัดขนใต้ฝ่าเท้าครับ 

7.สาเหตุอื่นๆ อีกมากมายตาแป๊ะไก่ครับ .. เช่น โรคกระดูก , หรือ โรคที่ทำให้กระต่ายไม่เดิน ฉี่แล้วเหยียบทับ หรือ อีกสาเหตุคือ เล็บยาว แล้วไม่ยอมตัดครับ ทำให้กระต่าย ลงน้ำหนักไม่ถนัดครับ 



วันนี้เอาสาเหตุไปก่อนนะครับ แล้วคราวหน้าจะมาพูดถึงวิธีการรักษา ครับ ^^ 

ด้วยความปราถนาดี  น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล