facebook

กด Like เป็นกำลังใจให้กับ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษออนไลน์

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เต่าติดเบ็ด ทำอย่างไรดี ... เมื่อหมอต้อง ผ่าตัดกระดองเต่า






     

 สวัสดีครับ วันนี้มาพบกับหัวข้อเต่าบ้างนะครับ   มีคนบ่นว่าอยากอ่่านเรื่องเต่าบ้าง ก็เลยจัดให้ตามคำขอนะครับ ว่ากันด้วยเรื่อง เต่าติดเบ็ดครับ 
ปกติแล้วเต่าไม่ใช่ปลาครับ ไม่มีคนที่ตั้งใจไปตกเต่าเท่าไปตกปลาหรอกครับ บางคนที่ขี้เกียจก็จะไปหย่อนเบ็ดทิ้งไว้ บางทีไม่หย่อนแค่ตัวเดียวนะครับ เล่นกันเป็น พวง เลยก็มีครับ  แล้วบางทีเต่าก้ไปแย่งอาหารปลาก้อาจจะเกิดอาการโชคร้ายกินเหยื่อที่วางไว้ ทำให้ติดเบ็ดเข้าไปครับ 
แล้วจะพบเจอเต่าที่ติดเบ็ดได้ที่ไหน บางทีเราก็พบได้ตามตลาดสด แถวๆวัดที่มีปล่อยเต่า หรือแถว ชายคลองที่เค้านำเบ็ดมาวางนั่นแหละครับ แล้วบางทีถ้าโชคดีของเต่าก็อาจจะเจอคนใจบุญ ขอซื้อเต่าที่เค้าตกได้นำมาให้สัตวแพทย์รักษานี่แหละครับ 
เต่าแก้มแดงมีสายเบ็ดยื่นออกมาจากปาก
การรักษาทำอย่างไรบ้าง แล้วจะปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ เอาเต่าใส่กะละมัง ให้มีน้ำเล็กน้อย แล้วรีบพามาพบสัตวแพทย์ครับ ทำเท่านี้จริงๆครับ อย่าพยายามช่วยเต่า โดยดึงเบ็ดออกเองนะครับ เพราะว่าจะยิ่งทำให้เกิดการฝังของเบ็ดแน่นขึ้นไปอีก หรือดึงแรงมากๆอาจจะทำให้เนื้อเยื่อเสียหาย หรืออันตรายต่อชีวิตเต่าเลยนะครับ  และอีกอย่างคือ อย่าพยามพยามตัดเชือกหรือเอ็นที่ติดกับเบ้ดนะครับ เพราะจะทำให้สัตวแพทย์ ทำงานลำบากยิ่งขึ้นไปอีกเวลาต้องทำการรักษานะครับ คือเจอสภาพใดก็พามาสภาพนั้นเลยนะครับ 
หลังจากพามาพบสัตวแพทย์แล้ว สิ่งที่สัตวแพทย์จะทำก็คือ ทำการถ่ายภาพรังสีครับ โดยจะถ่่ายภาพรังสี 2 ท่า เพื่อประเมินว่าจะทำการรักษาอย่างไร บางทีอาจจะต้องทำการวางยาสลบหรือยาซึม เพื่อ ให้เต่าได้ยืดหัวเต็มที่ครับ 

กำลังจัดท่าเตรียมถ่ายภาพ x-ray 

เบ็ดอยู่ในตำแหน่งบริเวณคอ
เบ็ดอยู่ในตำแหน่งกระเพาะอาหารในเต่าหับ  


        หลังจากได้ภาพรังสีและประเมินแล้ว ถ้าอยู่บริเวณผิวๆ คือปาก อาจจะทำการดึงออกให้โดยจะมีเทคนิคในการดึงเบ็ดออกครับ แต่ถ้าอยู่ลึกบริเวณลำคอ อาจจะต้องทำการผ่าตัด โดยมี 2 เทคนิคที่ทำกันบ่อยๆคือ ดันให้เบ็ดทะลุออกมาแล้วตัดปลายทิ้ง แล้วจึงดึงเบ็ดที่เหลือออก หรือ ว่าอาจจะผ่าตัดกรีดเปิดเข้าไปเพื่อเอาเบ็ดออก ส่วนวิธีการขึ้นอยู่กับสัตวแพทย์เห็นสมควรและความถนัดของสัตวแพทย์แต่ละคนครับ 

เปิดผ่าบริเวณคอเพื่อนำเบ็ดออก
ตำแหน่งที่ยากที่สุดคือ ถ้าเบ็ดเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหาร  นอกจากเต่าจะเหงื่อตกแล้ว สัตวแพทย์ที่ทำการรักษา อาจจะเหงื่อตกมากกว่าเต่าอีกนะครับ เพราะว่าต้องเอาเบ็ดที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกนี่ไม่ใช้เรื่องง่ายเลยนะครับ  เพราะจะต้องทำการเปิดผ่ากระดองเต่าเข้าไป เพื่อเข้าไปหาตำแหน่งของกระเพาะอาหารซึ่งตำแหน่งของหัวใจของเต่าก็จะขวางการทำงานอีกครับ แค่คิดก็เหนื่อยแล้วครับ ... แต่เกิดเป็นสัตวแพทย์ต้องอดทนครับ  T-T 
รูปอวัยวะภายในของเต่า

ขั้นตอนการรักษาในเคสนี้ก็คือ วางยาสลบเต่าก่อนครับ โดยวางยาด้วยยาซึมก่อนครับหลังจากนั้นก็วางยาต่อด้วยแก๊สสลบครับ และก็ให้ยาลดปวดเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นขณะผ่าตัดครับ หลังจากหลับดีแล้วเราก็ทำการทำความกระดองส่วนที่จะผ่าตัดครับ โดยการขัดกระดองด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อครับ ช่วงขั้นตอนนี้จะสำคัญมากครับ เพราะอาจจะมีเลขขึ้นมาได้!! เอ้ย ไม่ใช่ครับ เพราะจะเป็นการป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าไปสู่ช่องลำตัวขณะผ่าตัดครับ 

ขณะใช้อุปกรณ์พิเศษเปิดกระดอง 
หลังจากนั้นก็จะต้องเปิดผ่าเข้าไปโดยใช้เครื่องมือ ชนิดต่างๆครับ โดยเราจะเปิดเพียง 3  ด้าน อีกด้านหนึ่งเหลือไว้ให้ติดกับตัว เหมือนบานพับ เพื่อเวลาปิดกลับเข้าไปจะทำให้ทำงานได้สะดวกและแผ่นกระดองที่ผ่าไม่หลุดเข้าไปในช่องท้องครับ 

        หลังจากเราได้ตำแหน่งที่เบ็ดอยู่จากภาพรังสี แล้วก็ทำการเปิดผ่ากระดองเข้าไปครับ และเข้าไปหากระเพาะอาหารของเต่าจากนั้นทำการนำเบ็ดออกจากกระเพาะ แล้วทำการปิดกระดองครับ 
ฟังดูเหมือนง่ายนะครับ แต่ตอนปิดกระดองนี้ จะต้องใช้ Epoxy-Resin รวมทั้ง fiberglass  ในการปิดกระดอง หรืออาจจะใช้เทคนิคอื่นๆก็ได้ซึ่งก็มีหลายวิธีในการซ่อมกระดอง 
หลังจากเปิดกระดองเป็นรูปบานพับ
               
ขณะนำเบ็ดออกจากตัวเต่า


หลังจากซ่อมกระดองแล้วก็ต้องรอกระดองให้เชื่อมกันโดยใช้เวลาในการหายอย่างน้อย 8-18 เดือน เชียวล่ะครับ นี่ขนาดเป็นแผลผ่าตัดที่สะอาดนะครับ แต่ถ้าเป็นแผลที่เกิดจากขับรถทับกระดองเต่าแตก แล้วต้องซ่อมแซม นี่ไม่อยากจะคิดเลยครับ 
เต่าหับที่ได้รับการรักษาแล้วทำการซ่อมกระดองเรียบร้อย
วันนี้ขอเท่านี้ก่อนนะครับ ใครอยากทราบเรื่องไหนมีอะไรคาใจก็ถามคำถามทิ้งไว้ได้นะครับ แล้วผมจะมาคลายปัญหาคาใจให้นะครับ 
รูปนี้ขณะไปเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับ สัตว์เลื้อยคลานที่ อเมริกาเมื่อ มกราที่ผ่านมา ครับ  ^^ 

                                    ทุกชีวิตเราดูแล
                        น.สพ.เชาวพันธ์  ยินหาญมิ่งมงคล 

6 ความคิดเห็น:

  1. ตามมาเชียร์หมออ้อย

    ตอบลบ
  2. คุ้นๆ ค่ะ เหมือนเคยอ่านหนังสือปลาสวยงามชื่ออควาเรี่ยมบิส

    ตามคอลัมน์หมออ้อยมาตั้งแต่เล่มแรกๆ แต่หลังๆ หาอ่านไม่มีแล้ว

    มีบล็อคแล้วจะเข้ามาอ่านบ่อยๆ ค่ะ

    ชื่นชมๆๆ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ22 มกราคม 2556 เวลา 02:06

    สุดยอดเลย

    รักษากันถึงขนาดนั้น

    นับถือจริง ๆ

    ตอบลบ
  4. รบกวนครับคือเต่าแถวบ้านผม มันตายกันมากผมไม่มีความรู้ด้านนี้เลย แต่ผมสังเกตดูเนื้อกระดองของมันผุครับแล้วมันก็ค่อยๆๆตายครับ ผมสงสารแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ใครช่วยแนะนำทีครับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ18 มีนาคม 2558 เวลา 00:50

    ตอนนี้เจอเหตุการณ์แบบนี้เหมือนกัน ถ้าพาไปคลีนิคสัตว์จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ5 ตุลาคม 2558 เวลา 21:39

    เต่าถูกรถแม็กโครตักกระดองแตกพาไปหาหมอแล้วติดกระดองเทียมแล้วแต่หลุดและเต่าก็หากินเองโดยธรรมชาติ ขอถามว่าถ้ากระดองที่แตกเป็นช่อง ทิ้งไว้เต่าจะเป็นอันตรยไหมค่ะ

    ตอบลบ