facebook

กด Like เป็นกำลังใจให้กับ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษออนไลน์

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หนาวนี้ ไม่หนาวแน่ กับภาวะ Heat stroke

  สวัสดีครับ ช่วงนี้ก็เข้าหน้าหนาวแล้วแล้วนะครับ อากาศโดยทั่วไปก็เริ่มเย็นลงเรื่อยๆ แต่เชื่อหรือไม่ ว่า อากาศเย็นๆ อย่างนี้ มีโรคอยู่โรคหนึ่ง ซึ่งผู้เลี้ยงกระต่ายมักจะมองข้ามไป คือโรค Heat stroke  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดู ครับ เพียงแต่ว่า ในช่วงหน้าหนาว จะพบน้อยกว่า  ฤดูอื่น เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันหน่อยดีกว่าครับ 
Heat stroke  นั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในกระต่าย และ สัตว์ฟันแทะ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีต้นกำเนิด จากเมืองหนาว เช่น ชินชิล่า  คำถามที่พบบ่อยว่าทำไม ถึงเกิด Heat stroke ได้ง่ายในกระต่าย และสัตว์ ฟันแทะ อื่นๆ  เนื่องจาก โดยปกติแล้ว กระต่ายเป็นสัตว์ ที่่ชอบอยู่ในที่มีอากาศเย็น สบาย และไม่ชอบที่ ที่มีอากาศร้อน เหตุผลเพราะว่า กระต่ายนั้น ไม่มีต่อมเหงื่อ และกระต่ายนั้น ไม่สามารถ ระบายความร้อนออกทางเหงื่อได้ครับ ทำให้ความร้อน ที่สะสมอยู่ในร่างกายกระต่ายนั้น เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ จนถึงระดับหนึ่ง เมื่อสะสมไปมากๆ จะทำให้ร่างกาย รับความร้อนที่มากเกินไปไม่ไหว ทำให้ เกิดภาวะ ต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นมาครับ ภาวะนี้มีอาการหลักๆ ดังนี้ครับ

 1.ซึมเบื่ออาหาร : อาการนี้ เป็นอาการที่ต้องบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็แล้วแต่ อาการแรกที่แสดงออกมาก็คืออาการนี้ ดังนั้น เมื่อกระต่ายแสดงอาการนี้ออกมา ต้องรีบหาสาเหตุนะครับ ว่าแท้จริงนั้นเกิดจากอะไรกันแน่

2.มีอาการหายใจเสียงดัง : อาการนี้ต้องแยกให้ออกว่า เกิด จากปัญหาที่ปอด หรือว่า ที่ Heat stroke กันแน่ เสียงหายใจที่สังเกตุได้นั้น จะมีเสียงดัง แต่จะไม่ดังมาก และ ร่วมกับมีการหายใจทางจมูก โดยทำจมูก บานๆ ดูคล้ายๆ หายใจลำบาก และบางทีอาจจะหายใจจนตัวโยน เลยก็ได้ครับ 

3.ขาหลังอ่อนแรง ทรงตัวไม่ได้ เดินเซ ตัวสั่น :อาการนี้เป็นอาการที่สังเกตุได้ค่อนข้างชัดเจนมากของโรคนี้นะครับ แต่เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ที่สังเกตุนั่นหมายความว่า อาการของสัตว์เลี้ยงนั้น ค่อนข้างแย่แล้วนะครับ หลายครั้งที่สัตว์มาด้วยอาการนี้ แล้วทำการวัดไข้ มักจะพบว่า ไข้ขึ้นสูงไปมากกว่าที่ ปรอทจะวัดได้ (ปรอทวัดไข้ได้สูงสุด 42 องศา เซลเซียส) 

4.น้ำลายไหลเปียกคาง :  อาการนี้ก็เป็นอาการที่บ่งบอกได้เช่นกันว่า กระต่ายเริ่มมีภาวะ  ฮีทสโตรก แล้ว แต่ที่สำคัญต้องแยกให้ออกว่า ไม่ใช่น้ำลายไหลเนื่องจากฟันกรามที่ยาวเกินไป 

5.จับตัวแล้วร้อน : ปกติการแลกเปลี่ยนความร้อนในร่างกายกระต่ายนั้น จะเเลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีที่สุดคือทางใบหู บางทีถ้าเราจับหู แล้วมีอาการเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน นั่นหลายถึงอาจจะเป็นการปรับสมดุลความร้อนอยู่ก็เป็นได้ครับ แต่เมื่อเราจับบริเวณ ขาหนีบ หรือ ซอกรักแร้ หรือ บริเวณ หลังคอ แล้ว รู้สึกว่าร้อนกว่าปกติ นั้นอาจจะหมายถึง เริ่มมีปัญหากับความร้อนแล้วก็ได้นะครับ  แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือการใช้ปรอทวัดไข้ผ่านทางทวารครับ โดยปกติแล้ว อุณหภูมิกระต่ายนั้น เมื่อวัดผ่านทางก้น ควรจะอยู่ที่  38-40  องศาเซลเซียส ไม่ควรเกิน 40.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ถ้าเกินกว่านี้ ถือว่าเข้าขั้น วิกฤต แล้วครับ 

6.นอนนิ่งไม่ขยับ และ ช็อค  ชักเกร็ง  : อาการนี้เป็นอาการขั้นสุดท้ายของโรคนี้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ว่าหมอ หรือ ผู้เลี้ยงคนไหน ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อเกิดขึ้นแล้ว กระต่ายมักจะทนความร้อนที่ร้อนเกินไปไม่ไหว และร่างกายไม่สามารถที่จะ ควบคุม ตัวเองได้แล้ว อัตราการเสียชีวิต เมื่อมาถึงระยะนี้ต้องบอกว่า มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือก็คือ โอกาสที่ต้องคว้าไว้ โดยการช่วยเค้าให้เต็มที่ ผมเชื่อว่าชีวิตก็ยังมีปาฎิหารย์เสมอครับ 
เราก็ได้รู้จักอาการคร่าวๆกันไปแล้วนะครับ ว่าอาการที่มักแสดงออกนั้นประกอบด้วยอาการอะไรบ้าง คราวนี้เราดูวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งสัตวแพทย์ดีกว่าครับว่า เราจะช่วยเหลือ กระต่าย และช่วยเหลือหมอ อย่างไรได้บ้าง  จุดมุ่งหมายของการรักษาเบื้องต้น คือ พยายามลดความร้อนลง โดยใช้วิธีที่ผมจะ เขียนต่อไปนี้
1 .เมื่อรู้สึกว่า กระต่ายตัวร้อนให้หาน้ำ อาจจะใช้น้ำที่เย็นกว่าปกติเล็กน้อย (ห้ามน้ำเย็นจัดนะครับ)   หรือ ใช้  แอลกอฮอล์ ผสม กับน้ำธรรมดา ในอัตราส่วน 1:1 ก็ได้ครับ ค่อยๆเช็ดบริเวณ ใบหู (สำคัญที่สุด) และ เช็ดบริเวณ ขาหนีบ 
2. ทำการใช้สเปร์น้ำ ให้เป็นละออง เพื่อช่วยลดความร้อน ก็ได้  หรือ ใช้น้ำธรรมดา พรมลงไปให้ทั่วตัว 

3.ใช้ผ้าขนหนูที่เปียกเช็ดตัวและ ห่อตัวไว้ จากนั้น อาจจะใช้ไดร์ที่เป็นลมเย็น เป่า เพื่อให้ความร้อนระเหยออกก็ได้ 
4.ค่อยๆป้อนน้ำเย็น หรือ จัดหาน้ำเย็น  ให้กิน โดยสามารถใส่ กระบอก ถ้วย หรือ ป้อนโดยตรงก็ได้ 

5.รีบนำส่งสัตวแพทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป 


สิ่งที่ห้ามคือ การ ลดอุณหภูมิด้วยน้ำเย็นจัด หรือใช้ แอลกอฮอล์ เพียงอย่างเดียว  เพราะจะยิ่งทำให้ เส้นเลือดหดตัว ทำให้อุณหภูมิ ที่บริเวณหนังลดลง แต่อุณหภูมิ ที่อยู่ในร่างกาย เพิ่มมมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้อาการร้ายแรงขึ้นไปอีก 
การป้องกันหลีกเลี่ยง ไม่ให้เกิด Heart stroke  เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และ ดีกว่าการรักษา เราสามารถทำได้โดย ให้ กระต่ายอยู่ในที่ ที่อากาศถ่ายเทสะดวก มีลมพัดผ่าน ถ้าอากาศร้อนมากจนเกินไป พยามยาม หาพัดลมมาให้ โดยให้ทำการเปิด ส่าย ไปมา และไม่ควรใช้ พัดลม ติดเพดาน แนะนำให้ใช้พัดลม ที่ตั้งพื้นจะเหมาะที่สุด หรือ หากมีพัดลมไอน้ำ อาจจะใช้่ร่วมด้วยในกรณีที่อากาศร้อนจริงๆ และไม่แนะนำให้ ใช้พัดลมไอน้ำ ตลอดเวลา เนื่องจากอาจจะทำให้มีปัญหาระบบทางเดินหายใจได้ครับ และในกรณีที่สามารถเปิด แอร์ให้ กระต่ายได้ แนะนำให้เปิดครับ  เพราะจะช่วยทำให้กระต่ายสบายตัวขึ้นครับ 
วันไหนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ในวันที่ความชื้นสูง ร่วมกับอาการร้อน  โดยสังเกตุได้ง่ายๆจาก วันไหนที่เรารู้สึกอึดอัด กับอากาศ เหนียวตัว คล้ายกับอากาศในช่วงก่อนฝนจะตก  ช่วงนี้แหละครับที่น่ากลัว เพราะเมื่อความชื้น ในกาศสูงมากๆ การระบายความร้อน ออกจากตัวจะยิ่งทำได้ยากขึ้น 
เมื่อมาถึงมือสัตวแพทย์ ทีนี้ก็ขึ้นกับดุลยพินิจ ของคุณหมอแต่ละท่านว่า ควรจะทำสิ่งใดก่อนซึ่งการรักษานั้น ก็มีหลากหลายวิธี และไม่จำเป็นต้องให้การรักษา ทุกอย่างที่เขียนไป ขึ้นอยู่กับ กรณีๆ ไป ครับ 
1. ลดอุณหภูมิร่างกายของกระต่ายลงโดยใช้วิธีการต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว 
  1. ให้น้ำเกลือ อาจจะให้เข้าเส้นเลือด หรือใต้ผิวหนัง แล้วแต่อาการ 
  2. ให้ยาลดไข้ หรือ ลดการบวม ของสมอง ขึ้นกับกรณี 
  3. ให้ยาปฎิชีวนะ ซึ่งขึ้นกับกรณี เช่นกัน โดยอาจจะให้หรือไม่ให้ก็ได้ 
  4. ในกรณีที่เป็นมาก อาจจะต้องให้ ออกซิเจนร่วมด้วย 
  5. ให้ยาขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยทำให้การลดอุณหภูมิ มีประสิทธิภาพมากขึ้น  หรือ ยาซึม เพื่อลดความเครียด ขณะ จับบังคับ หรือ เช็ดตัวสัตว์ 
นี่ก็เป็นแค่วิธีการคร่าวๆ และภาพรวมในโรคนี้  โดยบทความที่เขียนขึ้นนี้ เป็นเพียงแนวทางกว้างๆเท่านั้น ซึ่งในรายละเอียดแล้วอาจจะมีมากกว่านี้ อย่างน้อยสิ่งที่อยากให้เป็นประประโยชน์กับผู้เลี้ยงกระต่ายและสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ก็คือ ลดโอกาส การป่วยและเสียชีวิต ของกระต่ายลง  
              ด้วยความปรารถนาดี 
                  น.สพ.เชาวพันธ์    ยินหาญมิ่งมงคล 

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณคุณหมอกับความรู้ดีๆ ที่ใช้ดูแลลูกๆกระต่ายค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณค่ะ หมอ เพราะช่วงหน้าหนาวอย่างนี้ เรามองข้ามเรื่องนี้ไปจริงๆ ค่ะ ได้อ่านแล้วช่วยได้เยอะเลยค่ะ

    (แอบเม้น หมอต้องตกภาษาไทยแน่ๆ เลย ตอนเรียนอะ) ^6^

    ตอบลบ
  3. ตอนเรียน เคยแต่ม้าครับ ภาษาไทยนี่ไม่ตกครับ แค่ติด i ครับ ^^

    ตอบลบ
  4. อืม มีประโยชน์จริงๆ จะขอเอาไปเผยแพร่บอกต่อนะค่ะ
    เพราะมีหลายคนเลี้ยงกระต่าย แต่ไม่รู้ว่าจะดูแลยังไง
    บางคนก็ตกใจกับอาการแบบที่คุณหมออธิบายมา แต่ไม่รู้จะทำยังไงอีก
    น่าสงสารเจ้ากระต่ายน้อยจริงๆ
    เฮ้อ พอรู้อย่างนี้แล้วก็อดสงสารกระต่ายที่อยู่ตามร้านขายสัตว์ไม่ได้
    ทำใจไม่ได้ซักที แต่ก็ไม่รู้จะช่วยยังไง

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณคร๊าบบบบบบบบบบ

    ตอบลบ